แต่โดยธรรมชาติคนไทยสมัยโบราณ แทบทุกบ้านจะทานอาหารเพื่อสุขภาพทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บกันเท่าไหร่ไม่เหมือนสมัยนี้เพราะเมื่อก่อนจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก แต่ละบ้านก็จะปลูกพืชผักสวนครัวกันเองและทำอาหารรับประทานเองทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างเหมือนปัจจุบันที่เป็นแม่บ้านสมัยใหม่ซื้อแกงถุงผักในตลาดไม่รู้ว่าปลอดสารพิษจริงหรือเปล่าและอาหารแต่ละอย่างก็ไม่รู้ว่าฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็นแล้วจะทานอะไรดีละนี่ ทางที่ดีคุณแม่บ้านต้องอ่านวันละนิดนะคะว่าอาหารแต่ละอย่างมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้างแต่ละอย่างถ้าทานมากเกินพอดีก็จะเป็นโทษมากกว่าให้ประโยชน์
เราจะนำหลักการของคนโบราณที่นำมาใช้ได้ตลอดกาลนะคะ หลักการง่ายๆก็คือคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลักความเป็นอยู่ของคนไทยเรานี่แหละก็คือ สภาพร่างกายของเรา สภาพแวดล้อมถิ่นทีอยู่ สภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญวัตถุดิบที่เราหาได้ง่ายแถวบ้านเรานั่นแหละคะ เกริ่นมายาวแล้วเรามาดูกันเลย
อาหารที่มีฤทธิ์เย็น
1. กลุ่มคาร์โบไฮเดรตพวกข้าวหรือแป้ง เช่น ข้าวกล้องจะเป็นข้าวกล้องงอกหรือไม่งอกก็ได้ ข้าวซ้อมมือ ข้าวขาว วุ้นเส้น เส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน น้ำตาล
2. กลุ่มโปรตีนฤทธิ์เย็น เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นต้น
3. กลุ่มผักฤทธิ์เย็น เช่น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ตำลึง ก้านตรง หวานบ้าน หวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่างๆ มะละกอดิบ-ห่าม พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ว่านหางจรเข้ ว่านมหากาฬ มะรุม ทูน (ตูน) ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล็อคเคอรี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ผักกาดหอม (ผักสลัด) อีหล่ำ อีสึก (ขุนศึก) ย่านางเขียว-ขาว หมอน้อย ใบเตย รางจืด เหงือกปลาหมอ ลิ้นปี่ ผักแว่น ผักโหบเหบ มังกรหยก ผักติ้ว ดอกสลิด (ดอกขจร) มะเดื่อ มะอึก ดอกแค ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ก้างปลา ใบมะยม ปวยเล้ง ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ เป็นต้น
สำหรับผักพาย ใบบัวบก และมะเขือพวง หรือพืชรสขมทุกชนิด เป็นร้อนดับร้อน ถ้าพืชรสขมชนิดนั้นๆ สามารถดับร้อนในตัวเราได้ ร่างกายก็เย็นลง แต่ถ้าดับร้อนไม่ได้ ร่างกายจะยิ่งร้อนมากขึ้น
สำหรับพืชรสฝาดและรสเปรี้ยว บางชนิดที่มีฤทธิ์เย็น ถ้ารับประทานมากไป ก็จะทำให้ร้อน และพืชที่มีรสฝาดก็ควรรับประทานคู่เปรี้ยว
สำหรับในกรณีที่อากาศร้อน หรือตอนเที่ยงวัน หรือตอนที่ร่างกายกำลังร้อนมาก ต้องระวังอาหารที่หวานจัด เปรี้ยวจัด มันจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เพราะจะทำให้ร้อนมากขึ้น อาหารดังกล่าว ถ้ารับประทานในปริมาณที่พอเหมาะในช่วงที่อากาศเย็น เช่น ตอนเช้า หรือในตอนที่ร่างกายเย็น ก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย
4.กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร กะท้อน ลูกหยี เชอรี่ สมอไทย ชมพู่ มะขวิด มะดัน มะละกอดิบ-ห่าม (มะละกอสุกจะร้อนเล็กน้อย) มะม่วงดิบ มะขามดิบ มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) หมากเม่า หมากผีผ่วน น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลูกท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ ลางสาด สตรอเบอรี่ ทับทิมขาว ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
อาหารกลุ่มนี้ให้พลังงาน ถ้ารับประทานมากเกินไป ก็จะทำให้ร้อน สำหรับน้ำตาล ข้าวขาว และวุ้นเส้นจะรับประทานเพียงเล็กน้อย ในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ เท่านั้น เพราะร้อนน้อยที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรท แต่ถ้ารับประทานเป็นประจำ ร่างกายจะขาดไฟเบอร์และวิตามิน ดังนั้น ถ้าร่างกายเริ่มทุเลาอาการร้อนเกินลง และเริ่มมีความรู้สึกว่า รับประทานอาหารกลุ่มนี้แล้วไม่อยู่ท้อง (หิวบ่อย หิวง่าย) ให้ปรับมารับประทานข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องตามลำดับ
อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
1.กลุ่มคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง เป็นต้น
2.กลุ่มโปรตีนฤทธิ์ร้อน เช่น เนื้อ นม ไข่ เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดหอม เห็ดหลินจือ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอด เต้าเจี้ยว มิโสะ ซีอิ๊ว โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เป็นต้น
3.กลุ่มไขมันเช่น ลูกก่อ งา เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
4.กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ผักที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กระชาย กระเพรา ยี่หร่า โหระพา พริก แมงลัก กุ้ยช่าย ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผักชี พริกไทย ขิง ข่า ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ตะไคร้ เครื่องเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดร้อน แต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น คะน้า แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง กระเฉด ลูกตำลึง ฟักทองแก่ โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ ผักแขยง ยอดเสาวรส หน่อไม้ เม็ดบัว ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด (เทา) ไหลบัว รากบัว แพงพวยแดง เป็นต้น
5.กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน เช่น ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า สละ ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ กล้วยปิ้ง (สำหรับกล้วยหอมทองและหอมเขียว มีรสหวานจัด มักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน) มะตูม ละมุด ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเขียว ลูกยางเหลือง ลองกอง กะทกรก (เสาวรส) มะเฟือง มะปราง มะขามหวานสุก สมอพิเภก มะไฟ มะแงว (ลิ้นจี่ป่า) ทับทิมแดง มะม่วงสุก ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
ลักษณะของอาหารฤทธิ์ร้อน
อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัด หรือขมจัด
อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนานๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง หรือใช้ไฟแรง
อาหารใส่สารสังเคราะห์
อาหารใส่สารเคมี
อาหารใส่ผงชูรส
สมุนไพรหรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
อาหารหมักดอง น้ำหมัก ข้าวหมาก
วิตามินทุกตัว ยกเว้น เอ ดี อี เค เบต้าแคโรทีน ที่ได้จากอาหารกลุ่มเย็น
แคลเซียม โซเดียม ธาตุเหล็ก สังกะสี เบต้าแคโรทีน ที่ได้จากอาหารกลุ่มร้อน
เหล้า เบียร์ ไวน์ บุหรี่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมอม ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง บะหมี่ซอง
น้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด และน้ำแข็ง
เรียบเรียงจาก ถอดรหัสสุขภาพ โดย ใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)
เรียบเรียงจาก ถอดรหัสสุขภาพ โดย ใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น