การปรับสมดุลของอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วคนเราจะทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นอย่างเดียวหรือฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายอาจจะนำโรคภัยหลายอย่างมาสู่ตัวเราได้
แต่โดยธรรมชาติคนไทยสมัยโบราณ แทบทุกบ้านจะทานอาหารเพื่อสุขภาพทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บกันเท่าไหร่ไม่เหมือนสมัยนี้เพราะเมื่อก่อนจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก แต่ละบ้านก็จะปลูกพืชผักสวนครัวกันเองและทำอาหารรับประทานเองทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างเหมือนปัจจุบันที่เป็นแม่บ้านสมัยใหม่ซื้อแกงถุงผักในตลาดไม่รู้ว่าปลอดสารพิษจริงหรือเปล่าและอาหารแต่ละอย่างก็ไม่รู้ว่าฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็นแล้วจะทานอะไรดีละนี่ ทางที่ดีคุณแม่บ้านต้องอ่านวันละนิดนะคะว่าอาหารแต่ละอย่างมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้างแต่ละอย่างถ้าทานมากเกินพอดีก็จะเป็นโทษมากกว่าให้ประโยชน์
เราจะนำหลักการของคนโบราณที่นำมาใช้ได้ตลอดกาลนะคะ หลักการง่ายๆก็คือคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลักความเป็นอยู่ของคนไทยเรานี่แหละก็คือ สภาพร่างกายของเรา สภาพแวดล้อมถิ่นทีอยู่ สภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญวัตถุดิบที่เราหาได้ง่ายแถวบ้านเรานั่นแหละคะ เกริ่นมายาวแล้วเรามาดูกันเลย
10/20/2553
10/06/2553
ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ข้อบ่งชี้ในการรักษาผู้มีบุตรยากในแต่ละรายก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะมีบุตรยากความสำเร็จในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกผู้ป่วยแต่ละรายว่าเหมาะกับการรักษาแบบไหน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากจากทุกสาเหตุ คือ
1. ความผิดปกติของท่อนำไข่ (tubal factors)
ผู้ป่วยที่ถูกตัดท่อนำไข่ออกไปแล้วทั้งสองข้าง หรือในกรณีที่ท่อนำไข่เสียหายมากเกินกว่าจะทำการผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น มีการอุดตันมากกว่าหนึ่งแห่ง, เป็น hydrosalpinx ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 ซ.ม. , เคยได้รับการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของท่อนำไข่แล้วในอดีตแต่ไม่สำเร็จ (ไม่ตั้งครรภ์หลังจากทำการผ่าตัดภายใน 18 เดือน) มีพังผืดติดแน่นในอุ้งเชิงกราน
2.ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกราน(endometriosis)
สาเหตุที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานทำให้มีปัญหามีบุตรยากนั้น ยังใม่เป็นที่เข้าใจดีนัก แต่อสจเกิดจากการที่มีพังผืดเกิดขึ้นทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ หรือมีการสร้าง prostaglandins ขึ้น หรือมีจำนวน macrophages เพิ่มขึ้น
หลังจากที่รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานด้วยวิธีมาตรฐานทั่วๆไป เช่น การผ่าตัดและการใช้ยาเป็นเวลา 1 ปี แล้วผู้ป่วยยังไม่ตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วให้ผลสำเร็จพอๆกับผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อนำไข่ผิดปกติ
ผู้ป่วยที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานขั้นรุนแรงอัตราการตั้งครรภ์ค่อนข้างต่ำ สาเหตุจากจำนวน follicle ที่ได้น้อย มีจำนวนไข่(oocyte)น้อย และคุณภาพต่ำ
3. ความผิดปกติจากสาเหตุทางฝ่ายชาย(male factor) โดยทั่วไปแล้วถ้ารักษาด้วยวิธีเบื้องต้นไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นให้มีการตกไข่หลายใบร่วมกับการฉีดตัวอสุจิเข้าโพรงมดลูก(control ovarian hyperstimulation/ intrauterine insemination หรือ COH/ IUI) มักจะช่วยได้แต่ถ้าการรักษาด้วยวิธี COH/ IUI ไม่สำเร็จโดยเฉพาะในรายที่ฝ่ายชายมี อสุจิอ่อนมากๆ หรือถ้าทำ COH/ IUI 3-6 รอบเดือนแล้วไม่ตั้งครรภ์ก็ควรรักษาด้วยวิธี ART ( Assisted Reproductive Tecnology)
อย่างไรก็ดีในรายที่เชื้ออ่อนอัตราการปฏิสนธิ (fertilization) จะลดลงประมาณ 50 % เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปัญหาที่ท่อนำไข่
ผลของการตรวจตัวอสุจิจะมีความสัมพันธุ์กับผลของการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว เช่น ถ้ามีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวน้อยกว่า 15 ล้าน จะให้อัตราสำเร็จต่ำ
4. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic infertility) การวินิจฉัยว่าคู่สมรสมีปัญหานี้อย่างน้อยต้องตรวจน้ำอสุจิ, postcoital test, ตรวจการอุดตันของท่อนำไข่ และตรวจการตกขาวแล้วพบว่าปกติ สำหรับการรักษาแพทย์จะพิจารณาทำ COH/IUI ก่อนการทำ ART อัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาจะดีกว่าสาเหตุจากท่อนำไข่
5. ภาวะมีบุตรยากเนื่องจากร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ (immunologic infertility) การรักษาสาเหตุนี้ทำได้โดยวิธี COH/IUI จนถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
6. ภาวะมีบุตรยากในรายที่ฝ่ายหญิงหมดระดูแล้ว
ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องใช้ไข่จากคนอื่น โดยการกระตุ้นและเก็บไข่จากผู้บริจาค(doner)นำมาผสมกับตัวอสุจิจากสามีและย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกของผู้รับบริจาคไข่(recipient) ที่ได้ผ่านการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากจากทุกสาเหตุ คือ
1. ความผิดปกติของท่อนำไข่ (tubal factors)
ผู้ป่วยที่ถูกตัดท่อนำไข่ออกไปแล้วทั้งสองข้าง หรือในกรณีที่ท่อนำไข่เสียหายมากเกินกว่าจะทำการผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น มีการอุดตันมากกว่าหนึ่งแห่ง, เป็น hydrosalpinx ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 ซ.ม. , เคยได้รับการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของท่อนำไข่แล้วในอดีตแต่ไม่สำเร็จ (ไม่ตั้งครรภ์หลังจากทำการผ่าตัดภายใน 18 เดือน) มีพังผืดติดแน่นในอุ้งเชิงกราน
2.ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกราน(endometriosis)
สาเหตุที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานทำให้มีปัญหามีบุตรยากนั้น ยังใม่เป็นที่เข้าใจดีนัก แต่อสจเกิดจากการที่มีพังผืดเกิดขึ้นทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ หรือมีการสร้าง prostaglandins ขึ้น หรือมีจำนวน macrophages เพิ่มขึ้น
หลังจากที่รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานด้วยวิธีมาตรฐานทั่วๆไป เช่น การผ่าตัดและการใช้ยาเป็นเวลา 1 ปี แล้วผู้ป่วยยังไม่ตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วให้ผลสำเร็จพอๆกับผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อนำไข่ผิดปกติ
ผู้ป่วยที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานขั้นรุนแรงอัตราการตั้งครรภ์ค่อนข้างต่ำ สาเหตุจากจำนวน follicle ที่ได้น้อย มีจำนวนไข่(oocyte)น้อย และคุณภาพต่ำ
3. ความผิดปกติจากสาเหตุทางฝ่ายชาย(male factor) โดยทั่วไปแล้วถ้ารักษาด้วยวิธีเบื้องต้นไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นให้มีการตกไข่หลายใบร่วมกับการฉีดตัวอสุจิเข้าโพรงมดลูก(control ovarian hyperstimulation/ intrauterine insemination หรือ COH/ IUI) มักจะช่วยได้แต่ถ้าการรักษาด้วยวิธี COH/ IUI ไม่สำเร็จโดยเฉพาะในรายที่ฝ่ายชายมี อสุจิอ่อนมากๆ หรือถ้าทำ COH/ IUI 3-6 รอบเดือนแล้วไม่ตั้งครรภ์ก็ควรรักษาด้วยวิธี ART ( Assisted Reproductive Tecnology)
อย่างไรก็ดีในรายที่เชื้ออ่อนอัตราการปฏิสนธิ (fertilization) จะลดลงประมาณ 50 % เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปัญหาที่ท่อนำไข่
ผลของการตรวจตัวอสุจิจะมีความสัมพันธุ์กับผลของการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว เช่น ถ้ามีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวน้อยกว่า 15 ล้าน จะให้อัตราสำเร็จต่ำ
4. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic infertility) การวินิจฉัยว่าคู่สมรสมีปัญหานี้อย่างน้อยต้องตรวจน้ำอสุจิ, postcoital test, ตรวจการอุดตันของท่อนำไข่ และตรวจการตกขาวแล้วพบว่าปกติ สำหรับการรักษาแพทย์จะพิจารณาทำ COH/IUI ก่อนการทำ ART อัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาจะดีกว่าสาเหตุจากท่อนำไข่
5. ภาวะมีบุตรยากเนื่องจากร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ (immunologic infertility) การรักษาสาเหตุนี้ทำได้โดยวิธี COH/IUI จนถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
6. ภาวะมีบุตรยากในรายที่ฝ่ายหญิงหมดระดูแล้ว
ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องใช้ไข่จากคนอื่น โดยการกระตุ้นและเก็บไข่จากผู้บริจาค(doner)นำมาผสมกับตัวอสุจิจากสามีและย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกของผู้รับบริจาคไข่(recipient) ที่ได้ผ่านการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)