12/15/2553

Alzheimer's Disease

Alzheimer's Disease
What is Alzheimer’s disease? Alzheimer’s disease is a malfunction or disorder of the human brain. Alzheimer’s disease is named after a German physician Alois Alzheimer. In 1906 Alois Alzheimer first encountered the disorder and began to describe Alzheimer’s disease and begin what would become his life’s work.
Since Alois Alzheimer work over a century ago scientists have built on his work and discovered more and more about the disorder and now can say with authority what Alzheimer’s disease can do, but sadly especially for the sufferers of Alzheimer’s disease they can’t say how to prevent it and are no closer to a cure for Alzheimer’s disease than Alois Alzheimer was in 1906.
The reason for this lack of progress is not the amount of sufferers worldwide although as a proportion of any population Alzheimer’s disease sufferers don’t represent a significant number something in the region of one in every million, on the contrary Alzheimer’s disease and its associated research to discover what causes it and how to treat and cure it costs many hundreds of millions worldwide annually.
The pure fact that humankind knows almost nothing about the human brain and its function is the root cause of the lack of any progress in developing treatments and cures for Alzheimer’s disease after 100 years of trying, not lack of funding or effort.
It could be said that the many hundreds of millions used to research one small problem with the an organism as complicated as the brain is in reality a waste and that money would be better spent learning about the brain and as a by-product it is possible that a cure for Alzheimer’s disease would be stumbled upon.
So exactly what is Alzheimer’s disease and what is the best way to describe it? Most Neurological specialists agree with the following broad definition.
"Alzheimer’s disease is a progressive and debilitating brain disease which is always ultimately and fatal."
As far as scientists, physicians and neurologists are aware today Alzheimer’s disease consumes or destroys brain cells this action in turn causes the sufferer progressive and significant problems with thinking, memory, and eventually behaviour.
These symptoms and the problems they cause are severe enough to affect work, lifelong hobbies and social life, indeed there isn’t any part of a human’s life that won’t be adversely affected by Alzheimer’s disease and as it is a progressive disorder the affects are culminative and the Alzheimer’s disease patient and those around him experience terrible trauma.
There is never any remission because unfortunately Alzheimer’s disease just gets worse over time and is eventually fatal in fact Alzheimer’s disease is recognised as the most common form of dementia both general and senile.
Dementia is in fact a general and commonly used term for the loss of memory together with other intellectual faculties and abilities, which is serious enough to get in the way of with daily life and the normal routine. Figures suggest that Alzheimer’s disease accounts for between 50 and 70% of all dementia cases.
Source: Health Guidance

10/20/2553

อาหารฤทธิ์เย็นและอาหารฤทธิ์ร้อน

การปรับสมดุลของอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วคนเราจะทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นอย่างเดียวหรือฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายอาจจะนำโรคภัยหลายอย่างมาสู่ตัวเราได้
แต่โดยธรรมชาติคนไทยสมัยโบราณ แทบทุกบ้านจะทานอาหารเพื่อสุขภาพทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บกันเท่าไหร่ไม่เหมือนสมัยนี้เพราะเมื่อก่อนจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก แต่ละบ้านก็จะปลูกพืชผักสวนครัวกันเองและทำอาหารรับประทานเองทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างเหมือนปัจจุบันที่เป็นแม่บ้านสมัยใหม่ซื้อแกงถุงผักในตลาดไม่รู้ว่าปลอดสารพิษจริงหรือเปล่าและอาหารแต่ละอย่างก็ไม่รู้ว่าฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็นแล้วจะทานอะไรดีละนี่ ทางที่ดีคุณแม่บ้านต้องอ่านวันละนิดนะคะว่าอาหารแต่ละอย่างมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้างแต่ละอย่างถ้าทานมากเกินพอดีก็จะเป็นโทษมากกว่าให้ประโยชน์
เราจะนำหลักการของคนโบราณที่นำมาใช้ได้ตลอดกาลนะคะ หลักการง่ายๆก็คือคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลักความเป็นอยู่ของคนไทยเรานี่แหละก็คือ สภาพร่างกายของเรา สภาพแวดล้อมถิ่นทีอยู่ สภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญวัตถุดิบที่เราหาได้ง่ายแถวบ้านเรานั่นแหละคะ เกริ่นมายาวแล้วเรามาดูกันเลย

10/06/2553

ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

ข้อบ่งชี้ในการรักษาผู้มีบุตรยากในแต่ละรายก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะมีบุตรยากความสำเร็จในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกผู้ป่วยแต่ละรายว่าเหมาะกับการรักษาแบบไหน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากจากทุกสาเหตุ คือ
1. ความผิดปกติของท่อนำไข่ (tubal factors) 
          ผู้ป่วยที่ถูกตัดท่อนำไข่ออกไปแล้วทั้งสองข้าง หรือในกรณีที่ท่อนำไข่เสียหายมากเกินกว่าจะทำการผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น มีการอุดตันมากกว่าหนึ่งแห่ง, เป็น hydrosalpinx ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 ซ.ม. , เคยได้รับการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของท่อนำไข่แล้วในอดีตแต่ไม่สำเร็จ (ไม่ตั้งครรภ์หลังจากทำการผ่าตัดภายใน 18 เดือน) มีพังผืดติดแน่นในอุ้งเชิงกราน
2.ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกราน(endometriosis)
          สาเหตุที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานทำให้มีปัญหามีบุตรยากนั้น ยังใม่เป็นที่เข้าใจดีนัก แต่อสจเกิดจากการที่มีพังผืดเกิดขึ้นทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ หรือมีการสร้าง prostaglandins ขึ้น หรือมีจำนวน macrophages เพิ่มขึ้น
          หลังจากที่รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานด้วยวิธีมาตรฐานทั่วๆไป เช่น การผ่าตัดและการใช้ยาเป็นเวลา 1 ปี แล้วผู้ป่วยยังไม่ตั้งครรภ์  การรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วให้ผลสำเร็จพอๆกับผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อนำไข่ผิดปกติ
           ผู้ป่วยที่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกในอุ้งเชิงกรานขั้นรุนแรงอัตราการตั้งครรภ์ค่อนข้างต่ำ สาเหตุจากจำนวน follicle ที่ได้น้อย มีจำนวนไข่(oocyte)น้อย และคุณภาพต่ำ
3. ความผิดปกติจากสาเหตุทางฝ่ายชาย(male factor) โดยทั่วไปแล้วถ้ารักษาด้วยวิธีเบื้องต้นไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นให้มีการตกไข่หลายใบร่วมกับการฉีดตัวอสุจิเข้าโพรงมดลูก(control ovarian hyperstimulation/ intrauterine insemination หรือ COH/ IUI) มักจะช่วยได้แต่ถ้าการรักษาด้วยวิธี  COH/ IUI ไม่สำเร็จโดยเฉพาะในรายที่ฝ่ายชายมี อสุจิอ่อนมากๆ หรือถ้าทำ COH/ IUI 3-6 รอบเดือนแล้วไม่ตั้งครรภ์ก็ควรรักษาด้วยวิธี ART ( Assisted Reproductive Tecnology)
          อย่างไรก็ดีในรายที่เชื้ออ่อนอัตราการปฏิสนธิ (fertilization) จะลดลงประมาณ 50 % เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปัญหาที่ท่อนำไข่
          ผลของการตรวจตัวอสุจิจะมีความสัมพันธุ์กับผลของการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว เช่น ถ้ามีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวน้อยกว่า 15 ล้าน จะให้อัตราสำเร็จต่ำ
4. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic infertility) การวินิจฉัยว่าคู่สมรสมีปัญหานี้อย่างน้อยต้องตรวจน้ำอสุจิ, postcoital test, ตรวจการอุดตันของท่อนำไข่ และตรวจการตกขาวแล้วพบว่าปกติ สำหรับการรักษาแพทย์จะพิจารณาทำ COH/IUI ก่อนการทำ ART อัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาจะดีกว่าสาเหตุจากท่อนำไข่
5. ภาวะมีบุตรยากเนื่องจากร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ (immunologic infertility) การรักษาสาเหตุนี้ทำได้โดยวิธี COH/IUI จนถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
6. ภาวะมีบุตรยากในรายที่ฝ่ายหญิงหมดระดูแล้ว
          ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องใช้ไข่จากคนอื่น โดยการกระตุ้นและเก็บไข่จากผู้บริจาค(doner)นำมาผสมกับตัวอสุจิจากสามีและย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกของผู้รับบริจาคไข่(recipient) ที่ได้ผ่านการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

9/30/2553

การผสมเทียม(IUI)

การผสมเทียม (IUI:Intrauterine Insemination)

หมายถึง การใช้เครื่องมือฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปภายในอวัยวะสืบพันธุ์ ของสตรีในช่วงที่มีการตกไข่่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างตัวอสุจิกับไข่ของสตรีนั้น เชื้ออสุจิอาจเป็นของสามีหรือของผู้บริจาคทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ
การผสมเทียมมักทำให้กรณีที่น้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน มีปัญหาเกี่ยวกับการร่วมเพศหลั่งน้ำอสุจิในช่องคลอดฝ่ายหญิงไม่ได้ น้ำอสุจิย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ มีภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิในมูกที่ปากมดลูก  ปากมดลูกแคบมาก เป็นต้น
วิธีทำการผสมเทียมมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมแพร่หลายและมีอัตราความสำเร็จในเกณฑ์ดีคือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกซึ่งอสุจิที่จะฉีดจะต้องผ่านการล้างเอาเชื้อแบคทีเรียและสารต่างๆออก และคัดเฉพาะเชื้ออสุจิที่แข็งแรง การผสมเทียมนี้เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยผลของการผสมเทียมพบว่า
อัตราการตั้งครรภ์จะมีประมาณ ร้อยละ 10-20 ต่อรอบเดือน ซึ่งโดยปกติ   การผสมเทียมมักจะประสบผลสำเร็จภายใน 3 – 6 รอบเดือนของการรักษาถ้ายังไม่ตั้งครรภ์จะประเมินสาเหตุซ้ำเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป เรามาดูวีดีโอ การผสมเทียมกันก่อนนะ

9/23/2553

การป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009

หวัดจ๋า.....ขอลาก่อนนะจ๊ะ
ที่ผ่านมามีประชาชนเป็นไข้หวัดกันเยอะมาก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นไข้หวัดชนิดไหน และถ้าจะให้ดีอย่าเป็นหวัดเลยจะดีที่สุด(ผู้เขียนก็เพิ่งจะหายจากโรคหวัดแบบธรรมด๊า..ธรรมดานะค่ะ)แต่เราจะทำอย่างไรกันละ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันทั้งตัวเองและผู้อื่น
1. การป้องกันทั่วๆไป ก็คือแบบง่ายๆ  จ่ายตังค์หรือไม่จ่ายตังค์ก็ได้ ก็การออกกำลังกายไง จะแบบไหนก็ได้จะไปฟิตเนสของเอกชนหรือจะไปวิ่งแถวสนามกีฬาของส่วนราชการก็ได้(ฟรี..ฮิฮิเดี๊ยนชอบจ้า) แต่การออกกำลังกายก็ต้องอย่าหักโหมเกินไปนะ ต้องตามกำลังของตัวเองนะ ขอยืมคำขวัญมาใช้หน่อยนะ
" สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องมาออกกำลังกายกันนะจ๊ะ" วันต่อไปเรามาดูวิธีการป้องกันไข้หวัดกันต่อนะวันนี้พอก่อนจะ go home แล้วจ้า....
สวัสดีจ้า....มาพบกันอีกแล้ววันนี้เราจะมาดูวิธีการการป้องไข้หวัดกันต่อนะ
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารไทยนี่ละมีประโยชน์สุดๆเลย โดยปกติอาหารไทยจะรวมเครื่องเทศหลายๆชนิดอยู่ในอาหารเครื่องเทศเหล่านี้จะทำให้เกิดความร้อนป้องกันหวัดได้ดี เช่นเครื่องแกงก็จะมีพวกกระเทียม พริกไทย พริกสด ตะไคร้ ขิง เป็นต้น จะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง ป้องกันและลดอาการหวัดคัดจมูก ทานผักผลไม้ เพื่อเพิ่มวิตามินซีในร่างกาย เช่น มะรุมมีวิตามินซีมาก ฝรั่ง มะละกอและส้มบ้านเรานี่แหละไม่ต้องกินของนอกแต่ถ้าตังค์เยอะเหลือเฟือก็ทานกีวีก็ได้นะจ๊ะ อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพยังมีอีกมาก ก็คอยติดตามกันต่อนะค่ะ
3. การป้องกันตนเองและผู้อื่นในที่ชุมชน การหลีกเลี่ยงในที่ชุมชนค่อนข้างจะทำได้ยากสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องทำงานเราก็ต้องมีวิธีการป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างด้วยนะ ด้วยการเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ถ้าเรายังไม่มีอาการหวัดแต่อย่างไร ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในสถานที่ชุมชนผู้คนมากๆก็ป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัย ไม่ต้องอายนะจ๊ะ เพราะเป็นการป้องกันที่ดีมากเลยนะ แต่ถ้าเริ่มมีอาการหวัดก็ยิ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยเพราะไม่ใช่แค่ป้องกันเชื้อโรคกระจายสู่ผู้อื่นเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันตนเองรับเชื้อเพิ่มเติมอีกด้วย 

มาดูวิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง จาก youtube กัน


3. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออย่างถูกวิธี  รับประทานอาหารทีผ่านการปรุงสุกแล้ว ไม่เอาแบบสุกๆดิบๆนะ ถ้าทานร่วมกับผู้อื่นก็ต้องใช้ช้อนกลางแม้แต่ในครอบครัว (ผู้เขียนยังจำได้ตั้งแต่สมัยเด็กๆแล้วเมื่อทานอาหารพร้อมกันหลายๆคนพ่อจะบอกว่าให้ใช้ช้อนกลางตักกับข้าวนะเพื่อความสะอาดและปลอดภัยฝึกให้เป็นนิสัย) ก่อนทานอาหารมือของเราไม่รู้ไปจับต้องอะไรมาบ้างจะมีจำพวกเชื้อโรคหลายชนิดที่เรามองไม่เห็นติดอยู่ในตำแหน่งต่างๆของมือ โดยเฉพาะซอกนิ้วซอกเล็บ การล้างมือก็ต้องล้างอย่างถูกวิธีถึงจะสะอาด รูปแบบจะ 6 ขั้นตอน หรือ 7 ขั้นตอน ก็ได้คะ
ขอยืม VDOจาก youtube มาให้ดูกันหน่อยนะ


จากVDOจะเป็นการล้างมือแบบ 6ขั้นตอน เราลองมาดูวิธีการล้างมือจากรูปภาพแบบ 7 ขั้นตอนกันนะค่ะ
ต้องขออภัยภาพไม่ชัดเท่าไหร่
ล้างมืออย่างไรให้สะอาด
ขั้นตอนที่ 1 ฝ่ามือถูกัน
ขั้นตอนที่ 2 ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
ขั้นตอนที่ 3 ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
ขั้นตอนที่ 4 หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
ขั้นตอนที่ 5 ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบฝ่ามือ
ขั้นตอนที่ 6 ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ
ขั้นตอนที่ 7 ถูรอบข้อมือ

9/09/2553

ภาวะมีบุตรยาก


ภาวะมีบุตรยาก
หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ทั้งที่ไม่ได้คมุกำเนิดและมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ประมาณร้อยละ 15 ของคู่สมรส ในประเทศไทย มีประชาชนที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ประมาณ 10 ล้านคู่  ดังนั้นจะมีคู่สมรสประมาณ 1.5 ล้านคู่ ที่มีปัญหาดังกล่าว
เราแบ่งภาวะมีบุตรยากออกเป็น 2ชนิด คือ

การทำอิ๊คซี่(ICSI)

การทำอิ๊คซี่ (ICSI – IntraCytoplasmic Sperm Injection)

การทำอิ๊คซี่  คือ การฉีดตัวอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่ โดยไม่รอให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง ทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ส่วนขั้นตอนอื่นเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว การทำดังกล่าวต้องทำผ่านเครื่องมือพิเศษที่ประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเข็มขนาดเล็กมากเพื่อจับไข่และฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่ ด้วยการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนนุ่มนวลมาก เป็นวืธีที่เลือกใช้ในรายที่